|
|
|

|
|
|
|
|
|
การแจ้งสมาชิกเข้า-ออก และเรียกเก็บเบี้ยประกัน |
|
กรณีแจ้งพนักงานเข้า หรือ ออก คำนวณเบี้ยอย่างไร (กรณีปีต่ออายุ)? |
|
ผู้ถือกรมธรรม์จะจ่ายเบี้ยช้าที่สุดได้ถึงเมื่อไหร่? |
|
กรมธรรม์แบบ Package ในกรณีกรมธรรม์ใหม่ เมื่อส่งเอกสารแล้วจะเริ่มคุ้มครองเมื่อไร? |
|
บัตรสิทธิพิเศษประกันหมู่ใช้ได้ในกรณีใดบ้าง? |
|
ถ้าบัตรสิทธิพิเศษประกันหมู่หายจะต้องทำอย่างไรบ้าง? |
|
หากสมาชิกต้องการตรวจสุขภาพเพื่อปรับทุนประกัน สามารถตรวจที่ไหนได้บ้าง? |
|
กรณีที่พนักงานอายุเกิน 65 ปี สามารถทำประกันได้หรือไม่? |
|
|
|
|
|
การแจ้งสมาชิกเข้า-ออก และเรียกเก็บเบี้ยประกัน (การประกันแบบสะสมทรัพย์) |
|
ผู้ถือกรมธรรม์จะทราบเลขที่กรมธรรม์และเลขที่ใบรับรองเมื่อไร ? |
|
กรณีลาออกและเสียชีวิต สมาชิกตรวจสอบผลประโยชน์ที่จะได้รับจากไหนบ้าง ? |
|
วิธีการชำระเบี้ยมีกี่วิธี? |
|
กรณีพนักงานลาออกจะต้องดำเนินการอย่างไร? |
|
|
|
|
|
การบริการก่อน -หลังการขาย (ประกันชีวิตแบบสมัครใจ) |
|
สมาชิกต้องมีช่วงอายุเท่าไหร่ สำหรับการสมัคร ? |
|
ช่วงของอัตราเบี้ยประกันที่สมาชิกสามารถสมัครได้ ? |
|
สมาชิกจะได้รับผลประโยชน์อะไรบ้างในกรณีที่ซื้อผลประโยชน์เพิ่มเติม ? |
|
จะต้องมีจำนวนสมาชิกขั้นค่ำสุดเท่าไหร่ ถึงจะสามารถสมัครได้ ? |
|
สมาชิกสามารถสมัครให้กับคู่สมรส และบุตรได้หรือไม่ ? |
|
ในกรณีที่สมาชิกลาออกไปจากบริษัท อย่างน้อย 1 ปี จะได้รับผลประโยชน์อะไร ? |
|
|
|
|
|
การจ่ายสินไหม |
|
โรคที่ไม่คุ้มครองตามเงื่อนไขของกรมธรรม์มีอะไรบ้าง ? |
|
ความหมายผลประโยชน์ค่าห้องค่าอาหาร คืออะไร? |
|
ความหมายผลประโยชน์ค่าผ่าตัด? |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
การแจ้งสมาชิกเข้า-ออก และเรียกเก็บเบี้ยประกัน |
|
กรณีแจ้งพนักงานเข้า หรือ ออก คำนวณเบี้ยอย่างไร (กรณีปีต่ออายุ)?
1.1) กรณีแจ้งเข้าหลังวันที่ 1 ของเดือน จะได้รับการยกเว้นเบี้ยของเดือนที่แจ้งเข้า แต่จะเริ่มเก็บเบี้ยในวัน
ที่ 1 ของเดือนถัดไป
1.2) กรณีแจ้งออก ก็เช่นเดียวกัน ถ้าแจ้งหลังวันที่ 1 จะไม่มีการคืนเบี้ยของเดือนที่แจ้งออก แต่จะเริ่ม
คำนวณเบี้ยคืนตั้งแต่ วันที่ 1 ของเดือนถัดไป จนถึง ณ วันที่ครบรอบปีกรมธรรม์
หมายเหตุ : การปรับปรุงเบี้ยนี้จะกระทำ ณ วันครบรอบปีกรมธรรม์ และ อัตราเบี้ยประกันที่ใช้คำนวณ
จะเป็นอัตราเบี้ยประกันของปีนั้น ๆ (มิใช่อัตราเบี้ยประกันของปีต่ออายุใหม่)
ผู้ถือกรมธรรม์จะจ่ายเบี้ยช้าที่สุดได้ถึงเมื่อไหร่?
ระยะเวลาผ่อนผันในการชำระเบี้ยประกันกรณีปีต่ออายุ บริษัทฯจะผ่อนผันให้เป็นเวลา 31 วัน นับจากวัน
ครบรอบปีกรมธรรม์
<
กลับไปยังส่วนบน
กรมธรรม์แบบ Package ในกรณีกรมธรรม์ใหม่ เมื่อส่งเอกสารแล้วจะเริ่มคุ้มครองเมื่อไร?
ความคุ้มครองจะเริ่มในวันรุ่งขึ้น หลังจากได้รับเอกสารครบถ้วนพร้อมเบี้ยประกัน ( Cash with
App.) และอนุมัติเรียบร้อยแล้ว
- เอกสารครบถ้วนก็เช่น ใบสมัครพนักงาน แบบแถลงสุขภาพ (กรณีพนักงานไม่ถึง 30 คน)
- แบบสมัครพนักงานสีเขียว แบบไม่ต้องแถลงสุขภาพ (กรณีพนักงาน 30 คนขึ้นไป)
- ใบสมัครนายจ้าง ลงนามโดยผู้มีอำนาจเซ็น พร้อมประทับตราบริษัท (ถ้ามี)
ใช้ในกรณีที่เจ็บไข้ได้ป่วยที่จะต้องนอนรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล โดยที่ทำการยื่นบัตรสิทธิพิเศษ
ประกันหมู่ให้กับทางโรงพยาบาล (จะต้องเป็นโรงพยาบาลที่มี contact กับทาง AIA) โดยทางโรง
พยาบาลจะคำนวณค่าใช้จ่ายทั้งหมด โดยผ่านทางระบบ FCS ซึ่งทางพนักงานจะชำระเงินเฉพาะส่วนที่
เกินจากความคุ้มครองเท่านั้น
ถ้าบัตรสิทธิพิเศษประกันหมู่หายจะต้องทำอย่างไรบ้าง?
จะต้องไปแจ้งความและนำสำเนาใบแจ้งความแนบมาพร้อมกับจดหมายเพื่อขอบัตรใหม่
<
กลับไปยังส่วนบน
หากสมาชิกต้องการตรวจสุขภาพเพื่อปรับทุนประกัน สามารถตรวจที่ไหนได้บ้าง?
สามารถตรวจได้ที่บริษัท AIA และทางบริษัทได้เพิ่มความสะดวกให้กับพนักงานโดยสามารถทำการ
ตรวจ ได้ ณ โรงพยาบาลที่มีแพทย์แต่งตั้งของ AIA ได้.
<
กลับไปยังส่วนบน
กรณีที่พนักงานอายุเกิน 65 ปี สามารถทำประกันได้หรือไม่?
ต้องทำจดหมายแจ้งความประสงค์เข้ามาก่อน จากนั้นทางบริษัท AIA จะทำการเรียกตรวจสุขภาพเพื่อ
พิจารณา แล้วจะแจ้งผลให้ทราบภายหลัง (แต่ในกรณีที่รับทำประกัน อาจจะมีการเก็บเบี้ยเพิ่มเติม)
<
กลับไปยังส่วนบน
|
|
การแจ้งสมาชิกเข้า-ออก และเรียกเก็บเบี้ยประกัน (การประกันแบบสะสมทรัพย์) |
|
ผู้ถือกรมธรรม์จะทราบเลขที่กรมธรรม์และเลขที่ใบรับรองเมื่อไร ?
สมาชิกผู้สมัครจะทราบเลขที่กรมธรรม์และ เลขที่ใบรับรอง หลังจากได้รับใบรับรองจากบริษัทแล้ว
<
กลับไปยังส่วนบน
กรณีลาออกและเสียชีวิต สมาชิกตรวจสอบผลประโยชน์ที่จะได้รับจากไหนบ้าง ?
สามารถดูได้จากเอกสารใบชี้ชวน แต่หากต้องการทราบตัวเลขที่แน่นอนควรสอบถามโดยตรงจากบริษัท
<
กลับไปยังส่วนบน
วิธีการชำระเบี้ยมีกี่วิธี?
การชำระเบี้ยประกันสามารถทำได้หลายวิธิ เช่น ชำระเป็นเช็ค จ่ายผ่านบัญชีธนาคาร ฯลฯ ขอราย
ละเอียดได้ที่ผู้ประสานงานฝ่ายขาย
<
กลับไปยังส่วนบน
กรณีพนักงานลาออกจะต้องดำเนินการอย่างไร?
สมาชิกจะต้องแจ้งความประสงค์แก่ฝ่ายการเงินที่ตนสังกัด เพื่อทำหลักฐานแบบรายงานการลาออกของ
สมาชิก (กง.1) หรือส่งเป็นหนังสือแจ้งความประสงค์ถึงบริษัท
<
กลับไปยังส่วนบน
|
|
การบริการก่อน -หลังการขาย |
|
สมาชิกต้องมีช่วงอายุเท่าไหร่ สำหรับการสมัคร ?
ช่วงอายุระหว่าง 16 – 54 ปี .
<
กลับไปยังส่วนบน
ช่วงของอัตราเบี้ยประกันที่สมาชิกสามารถสมัครได้ ?
100 – 10,000 บาท/เดือน
<
กลับไปยังส่วนบน
สมาชิกจะได้รับผลประโยชน์อะไรบ้างในกรณีที่ซื้อผลประโยชน์เพิ่มเติม ?
- สำหรับการเสียชีวิตโดยอุบัติเหตุ จะได้รับผลประโยชน์100,000 บาท
- ค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาล 500 บาท / วัน, คุ้มครองทุกกรณีทั้งเจ็บป่วยและอุบัติเหตุ
<
กลับไปยังส่วนบน
จะต้องมีจำนวนสมาชิกขั้นค่ำสุดเท่าไหร่ ถึงจะสามารถสมัครได้ ?
อย่างน้อยต้อง 30% จำนวนพนักงานทั้งหมด และค่าเบี้ยประกันต่อเดือนต้องไม่น้อยกว่า 10,000
บาท
<
กลับไปยังส่วนบน
สมาชิกสามารถสมัครให้กับคู่สมรส และบุตรได้หรือไม่ ?
สำหรับสมาชิกที่สมัครแล้วสามารถสมัครให้กับคู่สมรสและบุตรได้เช่นกัน
<
กลับไปยังส่วนบน
ในกรณีที่สมาชิกลาออกไปจากบริษัท อย่างน้อย 1 ปี จะได้รับผลประโยชน์อะไร ?
สมาชิกสามารถรับคืนเบี้ยประกัน 80% ของเบี้ยประกันในปีแรก, และจะเพิ่มขึ้นในปีต่อๆไป
<
กลับไปยังส่วนบน
|
|
การจ่ายสินไหม |
|
โรคที่ไม่คุ้มครองตามเงื่อนไขของกรมธรรม์มีอะไรบ้าง ?
- โรคที่เป็นมาก่อน 90 วันก่อนมีผลคุ้มครอง เว้นแต่ได้ทำประกันมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกัน 12 เดือน
- การกระทำตนเอง,ความผิดปกติของจิตใจเนื่องมาจากความกังวล ความเครียด โรคประสาท โรคจิต, โรค
พิษสุราเรื้อรัง,โรคติดต่อที่ถูกแยกหรืออยู่ในเขตกักกันโรคตามกฏหมาย
- การเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นโดยเป็นผลโดยตรงหรือโดยอ้อม จากสงครามไม่ว่าจะประกาศหรือไม่ประกาศ การ
ปฏิวัติหรือการปฏิบัติการใดๆ เยี่ยงสงคราม
- การเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ จากการจราจล สงครามกลางเมือง การปฏิวัติ การก่อการร้าย การนัดหยุดงาน
การทะเลาะวิวาท
- ค่าบริการพยาบาลพิเศษ การตรวจร่างกายหรือสุขภาพทั่วไป การทดสอบที่ไม่เกี่ยวกับการักษาหรือการ
วินิจฉัยโรคอันเนื่องมาจากการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บที่เป็นอยู่ หรือการรักษาใดๆ ที่ไม่มีความจำเป็นทาง
การแพทย์ การตรวจรักษาหรือศัลยกรรมเกี่ยวกับฟัน (ยกเว้นซื้อเพิ่มเติม)
- การผ่าตัดแก้ไขสิ่งผิดปกติอันเกิดมาแต่กำเนิด การคุมกำเนิด การทำหมัน การรักษาเกี่ยวกับความสามารถ
ในการให้กำเนิด การรักษาอันเนื่องมาจากการตั้งครรภ์ แท้งบุตร การคลอดบุตร(ยกเว้นซื้อเพิ่ม)
- การทำศัลยกรรมเพื่อความงามหรือศัลยกรรมพลาสติก การให้บริการอำนวยความสะดวกที่มิใช่เป็นการ
รักษาพยาบาลเช่น โทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ และอื่นๆที่คล้ายคลึงกัน การจัดซื้อหรือการใช้เครื่องเหนี่ยวรั้ง
หรือค้ำจุน เครืองมือ หรืออุปกรณ์อื่นๆเช่น เผือกพยุงหลัง อุปกรณ์ช่วยการได้ยิน ไม้ค้ำยัน เป็นต้น
- การซื้อยาโดยปราศจากใบสั่งจากแพทย์
- การตรวจวัดสายตา การประกอบแว่นตา เลนส์สัมผัส ( contact lenses) หรืออุปกรณ์ช่วยการได้
ยิน เหงือกอักเสบ ทันตกรรม การรักษาช่องปาก
- ความผิดปกติที่เกี่ยวกับการทำงานของร่างกาย เช่น ท้องผูก อาหารไม่ย่อย ท้องอืด เบื่ออาหาร ธาตุพิการ วัย
ทอง เป็นต้น
- การรักษาแบบพักผ่อนหรือการดูแลสุขภาพอนามัย เช่น อ่อนเพลีย ภาวะกังวลใจ ปลายประสาทอักเสบ
นอนไม่หลับ นอนกรน สิว เป็นลม
- การตรวจรักษาโดยบุคคลอื่นซึ่งไม่ใช่แพทย์ที่จดทะเบียนประกอบโรคศิลป์ (ได้รับปริญญาแพทย์ศาสตร์
บัณฑิตและมีใบอนุญาติประกอบวิชาชีพเวชกรรมจากแพทย์สภา)
- การรักษาแบบแผนโบราณ เช่น การนวด การประคบ การรักษาโดยใช้สมุนไพร ชีวจิต เป็นต้น
<
กลับไปยังส่วนบน
ความหมายผลประโยชน์ค่าห้องค่าอาหาร คืออะไร?
ประกอบด้วย ค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าการพยาบาล ค่าบริการโรงพยาบาล ค่าบริการห้องพัก
<
กลับไปยังส่วนบน
ความหมายผลประโยชน์ค่าผ่าตัด?
ประกอบด้วยค่าแพทย์ผ่าตัด และแพทย์ช่วยผ่าตัด
<
กลับไปยังส่วนบน
|