โครงการประกันหมู่สะสมทรัพย์

   
 

โครงการประกันกลุ่มแบบสะสมทรัพย์ จัดตั้งได้ด้วยวิธีง่าย ๆ เพียงแค่ผู้บริหาร/เจ้าของกิจการ พร้อมที่จะช่วยพนักงานเก็บออมเงินด้วยการหักบัญชีเงินเดือนแล้วโครงการนี้ก็สามารถเกิดขึ้นได้ ลักษณะของโครงการโดยสังเขปมีดังนี้คือ
  1. ผู้บริหาร/เจ้าของกิจการ เห็นสมควรให้มีการจัดตั้งโครงการประกันภัยกลุ่มแบบสะสมทรัพย์ ตามแผนการประกันภัยกลุ่มที่ นำเสนอ
  2. สนับสนุนให้พนักงานเข้าร่วมโครงการซึ่งเป็นแบบสมัครใจ (Voluntary)
  3. โครงการจะก่อตั้งได้จะต้องมีพนักงานเข้าร่วมไม่น้อยกว่า 10 คน (ยกเว้นแบบสะสมทรัพย์ที่มีอนุสัญญาเพิ่มเติม)
  4. พนักงานเลือกจำนวนเงินเบี้ยประกันรายเดือน หรือรายปี ที่จะต้องชำระตามแผนสะสมทรัพย์ที่กำหนดไว้และอนุญาตให้หักเงินจำนวนนี้จากบัญชีเงินเดือนของตนเอง
  5. ผู้บริหาร/เจ้าของกิจการ นำจำนวนเงินเบี้ยประกัน ที่หักจากบัญชีเงินเดือนของพนักงาน ที่เข้าร่วมโครงการส่งให้ เอ.ไอ.เอ ตามรายละเอียดที่ทาง เอ.ไอ.เอ จะจัดส่งให้เป็นรายเดือน
  6. เพื่อกระตุ้นให้เกิดการออมทรัพย์ อันจะเป็นการแบ่งเบาภาระของผู้บริหาร/เจ้าของกิจการ จึงเปิดโอกาสให้บริษัท/องค์กร ออกเงินสมทบเพิ่มจากจำนวนเงินเบี้ยประกันภัยของพนักงานด้วยก็ได้
  7. ผู้บริหาร/เจ้าของกิจการ สามารถกำหนดอัตราผลประโยชน์ที่จะจ่ายให้แก่พนักงานที่เข้าร่วมโครงการในส่วนของเงินสมทบที่บริษัท/องค์กรเป็นผู้ออกให้ เพื่อจูงใจให้พนักงานอยู่ทำงานกับบริษัท/องค์กรนานยิ่งขึ้น

พนักงานผู้มีสิทธิเข้าร่วมโครงการสะสมทรัพย์ครบอายุ 60 ปี จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้
  1. จะต้องเป็นพนักงานประจำที่ปฏิบัติงานเต็มเวลา มีอายุตั้งแต่ 16 ถึง 55 ปี
  2. จะเข้าร่วมโครงการได้ในวันที่การประกันภัยมีผลบังคับ หรือวันครบรอบปีกรมธรรม์ถัดไป
  3. กรอกใบสมัครเรียบร้อยและได้รับการอนุมัติจาก เอ.ไอ.เอ
  4. เลือกจำนวนเงินเบี้ยประกันภัยรายเดือนหรือรายปี ตามแผนใดแผนหนึ่งที่กำหนดไว้
  5. สามารถเปลี่ยนจำนวนเงินเบี้ยประกันภัยได้ในวันครบรอบปีกรมธรรม์ถัดไป
  6. แสดงความยินยอมให้ผู้บริหาร/เจ้าของกิจการ หักเบี้ยประกันภัยจากบัญชีเงินเดือน

ผู้บริหาร/เจ้าของกิจการที่ได้จัดให้เกิดมีโครงการประกันภัยกลุ่มแบบสะสมทรัพย์จะได้รับประโยชน์ดังนี้ คือ
  1. สามารถจัดสวัสดิการเกษียนอายุให้แก่พนักงานโดยไม่ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายใด ๆ
  2. แบ่งเบาภาระทางการเงินของบริษัท/องค์กร ในอันที่จะต้องจัดเตรียมเงินกองทุนเกษียณอายุ หรือเงินสงเคราะห์กรณีมรณกรรม
  3. สนับสนุนให้พนักงานเก็บออมเงินเป็นประจำสม่ำเสมอ ตามกำลังความสามารถของแต่ละบุคคล
  4. สร้างหลักประกันความมั่นคงให้กับพนักงาน ตลอดระยะเวลาที่ทำงานกับบริษัท/องค์กร
  5. สร้างความอบอุ่นใจให้กับครอบครัวของพนักงาน ด้วยการประกันชีวิตที่ควบคู่ไปกับการออมทรัพย์
  6. ส่งเสริมให้เกิดขวัญกำลังใจในอันที่จะทำงานกับบริษัท/องค์กร
  7. สร้างสัมพันธภาพอันดีระหว่างผู้บริหาร/เจ้าของกิจการกับพนักงาน
  8. สามารถสร้างหลักประกันความมั่นคงในอนาคตให้แก่ตนเองและครอบครัว
  9. ก่อให้เกิดการออมทรัพย์อย่างสม่ำเสมอ
  10. ทำได้สะดวก โดยการหักจากบัญชีเงินเดือน
  11. ได้ประโยชน์ 2 ประสงค์ ทั้งการสะสมทรัพย์ และความคุ้มครองในขณะเดียวกัน